วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล

เราสามารถแบ่งรูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูลได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้
          1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex) ในการส่งสัญญาณข้อมูลแบบซิมเพล็กซ์ ข้อมูลจะถูกส่งไปในทาง เดียวเท่านั้น และตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ หรือการแพร่ภาพทางโทรทัศน์
         2. แบบกึ่งทางหรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Either-Way of Two Ways หรือ Half Duplex) การสื่อสารแบบครึ่งดูเพล็กซ์ เราสามารถส่งข้อมูลสวน ทางกัน ได้แต่ต้องสลับกันส่ง จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจแบบ Walkly-Talkly ซึ่งต้องอาศัยการ สลับสวิตซ์ เพื่อแสดง การเป็นผู้ส่งสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด บางครั้งเราเรียกการสื่อสารแบบ Haft Duplex ว่า แบบสายคู่ ( Two-Wire Line) 
           3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Both-Way หรือ Full Duplex) ในแบบนี้เราสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กันทั้งสองทาง ตัวอย่างเช่น ในการพูดโทรศัพท์ เราสามารถพูดพร้อมกันกับคู่สนทนาได้ การทำงานจะเป็นดูเพล็กซ์เต็ม แต่ในการใช้งานจริงๆ แล้วจะเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์คือผลัดกันพูด บางครั้งเรียกการสื่อสารแบบทางคู่ว่า Four-Wire Line
                     4. แบบสะท้อนสัญญาณหรือเอ็กโคเพล็กซ์ (Echo Plex) เป็นการส่งสัญญาณที่รวมทั้ง Half-Duplex และ Full-Duplex ไว้รวมกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคีย์บอร์ดและจอภาพของเครื่อง Terminal ของ Main Frame หรือ Host ในระหว่างการคีย์ข้อความหรือคำสั่งที่คีย์บอร์ดเพื่อให้โฮสต์คอมพิวเตอร์ รับข้อความหรือทำตามคำสั่งข้อความหรือคำสั่งก็จะปรากฏขึ้นที่จอภาพของเทอร์มินัล ด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง โฮสต์ซึ่งเป็นแบบดูเพล็กซ์เต็ม จะถูกสะท้อนสัญญาณให้กลับมาปรากฏที่จอภาพของ เทอร์มินัลเองด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกไปพร้อมๆ กันกับที่โฮสต์ทำงาน   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น